เมนู

สัตว์ เพราะประกอบกับสิ่งทั้งปวง. สิ่งใดอาศัยอยู่ เป็นที่อาศัยอยู่แห่ง
สัตว์เหล่านั้น ฉะนั้นสิ่งนั้นจึงชื่อว่า อาสยะ, คำนี้เป็นชื่อของสันดาน
อันมิจฉาทิฏฐิ หรือสัมมาทิฏฐิอบรมแล้ว, หรือว่าอันโทษทั้งหลาย มี
กามเป็นต้น หรือคุณทั้งหลายมีเนกขัมมะเป็นต้น อบรมแล้ว. กิเลส
ใด ๆ ที่นอนเนื่องเป็นไปตาม อยู่ในสันดานของสัตว์ ฉะนั้น กิเลสนั้น ๆ
จึงชื่อว่า อนุสยา. คำนี้เป็นชื่อของกิเลสทั้งหลาย มีกามราคะเป็นต้น
อันมีกำลัง.
อาสยะ ด้วย อนุสยะ ด้วย ชื่อว่า อาสยานุสยะ. พึงทราบ
ว่าเป็นเอกวจนะ โดยชาติศัพท์และด้วยสามารถแห่งทวันทวสมาส. อธิ-
มุติกล่าวคือจริต สงเคราะห์เข้าในอาสยานุสยะ, เพราะเหตุนั้น ใน
อุทเทสท่านจึงสงเคราะห์ญาณในจริตาธิมุติ เข้าด้วยอาสยานุสยญาณ
แล้วจึงกล่าวว่า อาสยานุสเย ญาณํ - ญาณในอาสยานุสยะ. ก็
ท่านทำอุทเทสไว้ด้วยประสงค์ใด, นิทเทสท่านก็ทำไว้ด้วยประสงค์นั้น
นั่นแล.

70. อรรถกถายมกปาฏิหีรญาณุทเทส


ว่าด้วย ยมกปาฏิหีรญาณ


พึงทราบคำวินิจฉัยในคำว่า ยมกปาฏิหีเร ญาณํ - ญาณใน
ยมกปาฏิหีระ
นี้ ดังต่อไปนี้

ชื่อว่า ยมกะ เพราะทำกองไฟและท่อธารแห่งน้ำเป็นต้น ให้
เป็นไปในคราวเดียวกันไม่ก่อนไม่หลังทีเดียว, ชื่อว่า ปาฏิหีระ เพราะ
กำจัดเสียซึ่งปฏิปักขธรรมทั้งหลาย มีความไม่เชื้อเป็นต้น, ยมกะนั้น
ด้วยปาฏิหีระด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า ยมกปาฏิหีระ.

71. อรรถกถามหากรุณาสมาปัตติญาณุทเทส


ว่าด้วย มหากรุณาสมาปัตติญาณ


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า มหากรุณาสมาปตฺติยา ญาณํ - ญาณ
ในมหากรุณาสมาบัติ
นี้ ดังต่อไปนี้
ธรรมชาติใด ครั้นเมื่อทุกข์ของผู้อื่นมีอยู่ ย่อมทำความหวั่น
ใจ แก่สาธุชนทั้งหลาย หรือว่าย่อมซื้อ คือย่อมเบียดเบียนทำลาย
ทุกข์ของผู้อื่น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า กรุณา, อีกอย่างหนึ่ง
ธรรมชาติใดย่อมเรี่ยไร คือย่อมแผ่ไปด้วยอำนาจการแผ่ไปในเหล่าทุก-
ขิตสัตว์ - สัตว์ผู้มีทุกข์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า กรุณา, กรุณา
ใหญ่ ชื่อว่า มหากรุณา ด้วยอำนาจกรรมคือการแผ่ไปและด้วยอำนาจ
กรรมอันเป็นคุณ, พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระมหากรุณา ย่อมเข้าสู่
สมาบัตินี้ได้ ฉะนั้นจึงชื่อว่า สมาปัตติ - สมาบัติ, พระมหากรุณานั้น